เครื่องวัดความดัน

10 อันดับ เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ค่าแม่นยำ มาตรฐาน รพ. OMRON, Yuwell, ALLWELL

สารบัญ

เครื่องวัดความดันโลหิตคืออะไร ( Blood pressure monitors)?


เครื่องวัดความดันโลหิต (Blood pressure monitor หรือ Blood pressure measurement device) คือ อุปกรณ์วัดระดับความดันโลหิตที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่ระบบหลอดเลือดแดง โดยจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข 3 ค่า ได้แก่ ค่าความดันโลหิตช่วงบน (Systolic blood pressure: SBP) ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนเครื่องวัดคือ SYS เป็นความดันของเลือดสูงสุดที่เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว ค่าความดันโลหิตช่วงล่าง (Diastolic blood pressure: DBP) ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนเครื่องวัดคือ DIA เป็นความดันเลือดที่ต่ำสุดที่เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวออก และค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse หรือ Heart rate) เป็นค่าตัวเลขบอกถึงจำนวนอัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจรต่อนาที

ซึ่งปกติแล้วหน้าที่ของหัวใจจะเป็นตัวกำหนดการบีบตัวและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะแบ่งเป็น 2 ค่า คือ ความดันตัวบน (บีบตัว Systolic Blood pressure) และ ความดันตัวล่าง (คลายตัว Diastolic blood pressure)
ในปัจจุบันนั้นเราจะเลือกเครื่องวัดความดันที่เป็นแบบดิจิตอล หรือ ที่เรียกว่าแบบอัตโนมัติ เพราะการใช้งานไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เหมาะกับทุกคน ใครๆก็สามารถใช้ได้ และการพัฒนาของเครื่องวัดเหล่านี้ยังทำให้อ่านค่าได้แม่นยำ จึงเหมาะกับการที่ควรซื้อไว้ติดบ้าน

ประเภทของเครื่องวัดความดันโลหิต

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (Mercurial manometer) เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐาน ลักษณะเครื่องวัดมีแท่งแก้วปรอทอยู่ภายในกับลูกยางสำหรับบีบซึ่งมีสายโยงออกมา ขั้นตอนการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากในการปรับแต่ง เพราะใช้หลักแรงโน้มถ่วงของโลกในการวัดเป็นหลัก และให้ค่าที่แม่นยำ แต่ข้อเสียของเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทคือ มีขนาดใหญ่ ไม่สะดวกต่อการพกพา อีกทั้งขณะใช้ต้องวางบนพื้นราบเท่านั้น มิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดผลที่ผิดพลาดได้ ผู้ที่สายตาไม่ดี หรือไม่มีแรงบีบลูกยางมากพอ จึงไม่เหมาะจะใช้เครื่องวัดความดันชนิดนี้

2. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (Aneroid equipment)

หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา” มีจุดเด่นคือ สามารถพกพาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง แต่มีข้อเสีย คือ อาจชำรุดได้ง่ายหากเกิดการกระแทกหรือทำตก และมีกลไกการใช้ซับซ้อนกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอื่น

3. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล (Automatic equipment)

เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความหลากหลายในด้านยี่ห้อ ราคา และขนาด อีกทั้งยังพกพาสะดวก ใช้งานง่าย และไม่ต้องใช้ลูกยางในการบีบลมเพื่อหาชีพจร นอกจากนี้ยังแสดงผลด้วยตัวเลขขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่สายตาไม่ดี บางรุ่นสามารถพิมพ์ผลการวัดออกมาเป็นกระดาษได้ แต่ข้อเสียของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลคือ อาจมีขั้นตอนการใช้ซับซ้อน ต้องเรียนรู้วิธีใช้ก่อนใช้งานจริง และอาจเสียหายแตกหักง่าย ต้องใช้ไฟฟ้าระหว่างใช้งาน และราคามักสูงกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดความดันโลหิตทั้ง 3 ชนิดนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐาน และคุณภาพของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ค่าการวัดความดันโลหิตออกมาแม่นยำที่สุด

ระดับค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม

ระดับค่าความดันโลหิตจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี ค่าความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากระดับความดันโลหิตช่วงบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท กับความดันโลหิตช่วงล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ถึงแม้จะไม่อยู่ในช่วงที่อันตราย แต่ถือว่าความดันโลหิตเริ่มมีค่าสูงกว่าปกติ ส่วนค่าที่เข้าข่ายกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้ว ระดับความดันโลหิตช่วงบนจะอยู่ที่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ส่วนระดับความดันโลหิตช่วงล่างจะอยู่ที่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หากคุณมีระดับความดันโลหิตสูงเกินกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ให้พบแพทย์โดยด่วน เพราะถือว่าอยู่ในระดับโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงแล้ว

ความแตกต่างระหว่างเครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขนกับข้อมือ

โดยปกติ การวัดความดันโลหิตทั่วไปมักจะวัดที่บริเวณต้นแขน แต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ หรือในรูปของนาฬิกาดิจิตอลสมัยใหม่ออกมา โดยค่าที่ได้จากการวัดที่ต้นแขนจะได้ค่าที่แม่นยำกว่า เนื่องจากข้อมือเป็นบริเวณที่ชีพจรมักเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ซึ่งเป็นผลมาจากชั้นผิวบริเวณข้อมือที่บางกว่าต้นแขน อีกทั้งเส้นเลือดบริเวณข้อมือมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงทำให้การวัดความดันโลหิตบริเวณข้อมือมักจะได้ค่าที่สูง หรือต่ำกว่าค่าความดันโลหิตที่ต้นแขน แต่อย่างไรก็ตามหากผู้วัดความดันโลหิตมีเนื้อต้นแขนมากจนไม่สามารถวัดความดันโลหิตตามปกติได้ หรือไม่สามารถหาชีพจรบริเวณดังกล่าวเจอ แพทย์ หรือพยาบาลอาจให้วัดความดันโลหิตที่ข้อมือแทนได้

ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต

ก่อนวัดความดันโลหิตให้นั่งพักบนเก้าอี้ในท่าที่สบายที่สุด หายใจเข้าออกตามปกติ ไม่ควรอยู่ในที่เสียงดัง หลังพิงพนักเก้าอี้ และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง ไม่ควรขยับตัวขณะเตรียมวัดความดัน วางแขนซ้าย หรือขวาบนโต๊ะ ไม่ต้องกำมือ ปล่อยมือตามสบาย แล้วพยาบาลจะนำผ้าพันแขนมาพันที่ต้นแขนเหนือข้อพับประมาณ 2-3 เซนติเมตร

                หลังจากนั้นจะเริ่มวัดความดันโลหิตโดยอาจเป็นการบีบลูกยาง หรือกดปุ่มที่เครื่องวัดความดันโลหิตให้ผ้าพันแขนออกแรงบีบต้นแขนเพื่อไปกดเส้นเลือดข้างใน ระหว่างที่ผ้าพันแขนเริ่มบีบต้นแขนให้ปล่อยตัวตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง

                หากใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เมื่อผ้าพันแขนพบระดับความดันโลหิตในเส้นเลือดแล้ว ผ้าพันแขนจะค่อยๆ คลายตัวออกเองโดยอัตโนมัติ แต่หากใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบลูกยาง ผู้วัดความดันโลหิตจะคลายผ้าพันแขนออกให้ จากนั้นเครื่องถึงจะแสดงตัวเลขค่าความดันโลหิตออกมา หากผลออกมาสูงหรือต่ำผิดปกติให้ทำการวัดค่าใหม่อีกครั้งเพื่อความแม่นยำ

วิธีอ่านค่าของเครื่องวัดความดัน แบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า ค่าความดันจะแบ่งเป็น 2 ค่า คือ ความดันตัวบน กับ ความดันตัวล่าง

  • ตัวเลขด้านบนที่แสดงผลในหน้าจอ จะเป็นค่าความดันของเลือด ขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 90-120 มิลลิเมตรปรอท
  • ตัวเลขด้านล่างที่แสดงผลในหน้าจอ จะเป็นค่าความดันของเลือด ขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท

วิธีเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล

  1. ควรเลือกร้านที่มีความน่าเชื่อถือมีใบรับรองมาตรฐานของเครื่อง
  2. มีบริการหลังการขายที่ดี มีการรับประกันของตัวสินค้า อย่างน้อย 1ปี ขึ้นไป
  3. เลือกเครื่องที่มีหน้าจอแสดงผลได้ชัดเจน อ่านค่าได้ง่ายและแสดงผลอัตตราการเต้นของหัวใจด้วย
  4. สามารถบันทึกค่าความดัน และเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้

ราคาเครื่องวัดความดันโลหิต

ปัจจุบันเครื่องวัดความดันโลหิตมีให้เลือกซื้อมากมายและหลากหลาย โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500-7,000 บาท ให้เลือกซื้อตามความเหมาะสมในการใช้งาน โดยก่อนใช้งานจะต้องทำการศึกษาวิธีใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อให้ผลที่ได้ไม่เกิดค่าผิดปกติเนื่องจากวิธีการใช้งานที่ผิดพลาด


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครื่องวัดความดันโลหิต

เครื่องวัดความดันโลหิตคืออะไร?
เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันโลหิต ซึ่งเป็นแรงของเลือดที่กระทำต่อผนังของหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจสูบฉีดไปทั่วร่างกาย เครื่องวัดความดันโลหิตมีหลายประเภท ได้แก่ จอภาพแบบแมนนวล (แอนรอยด์) และแบบอัตโนมัติ (ดิจิตอล)

เครื่องวัดความดันโลหิตทำงานอย่างไร?
เครื่องวัดความดันโลหิตประกอบด้วยผ้าพันแขนแบบเป่าลมที่พันรอบต้นแขน เครื่องวัดความดัน และวาล์วสำหรับพองและยุบผ้าพันแขน เมื่อผ้าพันแขนพองขึ้น มันจะหยุดการไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือดแดงที่ต้นแขนชั่วขณะ เมื่อผ้าพันแขนคลายออกอย่างช้าๆ การไหลเวียนของเลือดจะกลับมาทำงานอีกครั้งและความดันในหลอดเลือดแดงจะถูกวัดโดยมาตรวัด

ฉันจะใช้เครื่องวัดความดันโลหิตได้อย่างไร
หากต้องการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ให้พันผ้าพันแขนไว้รอบต้นแขน โดยให้ผ้าพันแขนอยู่เหนือข้อศอกประมาณหนึ่งนิ้ว ข้อมือควรกระชับแต่ไม่แน่นเกินไป เปิดจอมอนิเตอร์และทำตามคำแนะนำเพื่อขยายผ้าพันแขนและอ่านค่า สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่าค่าที่อ่านได้ถูกต้อง

ฉันควรตรวจความดันโลหิตบ่อยแค่ไหน?
ความถี่ในการตรวจวัดความดันโลหิตขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม และสภาวะสุขภาพพื้นฐานที่คุณอาจมี หากคุณมีความดันโลหิตปกติ โดยทั่วไปแนะนำให้ตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง หากคุณมีความดันโลหิตสูงหรือภาวะสุขภาพอื่นๆ คุณอาจต้องตรวจวัดความดันโลหิตให้บ่อยขึ้น ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสำหรับคำแนะนำเฉพาะ

ตัวเลขที่อ่านค่าความดันโลหิตหมายถึงอะไร?
การอ่านค่าความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลขสองตัว ตัวเลขตัวแรก เรียกว่า ความดันซิสโตลิก หมายถึง ความดันในหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจเต้น (บีบตัว) ตัวเลขที่สอง เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิก หมายถึง ความดันในหลอดเลือดแดงระหว่างการเต้นของหัวใจ (เมื่อหัวใจพัก) ความดันโลหิตปกติโดยทั่วไปถือว่าต่ำกว่า 120/80 mmHg ความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปถูกกำหนดให้เป็นความดันซิสโตลิกตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือความดันไดแอสโตลิกตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

บทสรุป

เครื่องวัดความดันจะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญคอยช่วยเช็คและติดตามสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นเราควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพและมีการรับประกันของสินค้า เพราะเครื่องนี้จะช่วยประเมินผลค่าความดันในร่างกายของเราว่าเป็นปกติหรือไม่ มีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือ ไขมัน หากเมื่อตรวจพบความดันที่ผิดปกติก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้หรือซื้อยามาทานเองอาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาภายหลัง เพื่อคนที่คุณรักเราควรลงทุนกับสิ่งนี้ ซื้อไว้สักอันก็ไม่เสียหายจริงไหม?